โดยเกณฑ์ช่างจากกรุงศรีอยุธยา เกณฑ์แรงงานจากเมืองโคราชและเมืองเสมาช่วยกันสร้างขึ้น ซึ่งในขณะนั้นมีนายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและวางผังเมืองให้ ประตูเมืองแห่งนี้เป็นเพียงเเห่งเดียว ในบรรดาประตูทั้ง 4 ประตูของเมืองโคราชที่ยังคงสภาพเดิมอยู่พร้อมกับกำแพงเมืองเก่า ซึ่งประตูทั้ง 4 มีรูปแบบเป็นทรงไทยโบราณ ศิลปะสมัยอยุธยา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา และมีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง
โดยมีชื่อเรียกประตูเมืองทั้ง 4 ว่า ประตูชุมพล ประตูพลแสน ประตูพลล้าน ประตูไชยณรงค์ แต่ทว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ได้ผุกร่อนไปตามกาลเวลาโดยเฉพาะเหตุการณ์ศึกเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ที่ได้เข้ามายึดเมืองโคราช ประกอบกับสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นฝนตก แดดออก น้ำท่วม ก็ได้ทำลายประตูเมืองให้ชำรุดทรุดโทรมลงจนเหลือเพียงประตูเดียว นั่นก็คือ ประตูชุมพล
สำหรับชื่อของประตูชุมพล มีหมายความว่า ชุมนุมพล เนื่องจากเป็นประตูที่เอาไว้เตรียมไพร่พลยามออกศึก ในอดีตมีความเชื่อว่าเมื่อลอดผ่านประตูชุมพลไปทำศึกจะได้กลับมาอย่างแคล้วคลาดปลอดภัຍ รวมทั้งใช้เป็นเส้นทางที่กองคาราวานการค้าในอดีต ต้องผ่านประตูชุมพลเพื่อเข้าสู่เมืองนครราชสีมาอีกด้วย แต่อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ การลอดซุ้มประตูชุมพล เชื่อกันว่าหาลอดประตูนี้ หันหน้าหาย่าโม
1 ครั้ง คุณจะได้กลับมาโคราชอีกในไม่ช้า หรือมีเหตุให้ได้มาโคราชเรื่อย ๆ
2 ครั้ง คุณจะได้ทำงานหรือมาอยู่ที่โคราช แม้จะผลัดถิ่นไปทำงาน หรือเรียนที่อื่น ก็ต้องมีเหตุให้ต้องกลับมาอยู่โคราช
3 ครั้ง จะได้เป็นเขย หรือสะใภ้ย่าโม คุณจะได้พาคนโคราชไปอยู่ที่จังหวัดคุณด้วย หรืออาจจะได้ตั้งรกรากอยู่โคราช กับคู่ครองชาวโคราช โดยเชื่อกันว่า ย่าโม ท่านขี้เหงา อยากให้ลูกหลานมาอยู่ที่โคราชเยอะ ๆ แต่ห้ามลอดเกิน 3 ครั้งไม่งั้นคู่รักจะได้เลิกกัน
ซึ่งความเชื่อนี้ถูกเล่าต่อกันมาช้านาน ไม่ทราบว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยไหน แต่หลาย ๆ คนที่อยากลอง ก็ได้มีคู่ครองเป็นชาวโคราชกันมาแล้ว บางคนก็ได้ย้ายมาอยู่โคราชอย่างไม่ทราบสาเหตุมีให้เห็นมานักต่อนัก อาจจะด้วยความเชื่อ สิ่งลี้ลับ คาถาอาคมที่สมัยก่อนการจะสร้างประตูเมืองต้องมีการลงคาถาอาคม และสิ่งของบางอย่างฝังลงไปด้วย แม้จริงประการใดก็ไม่มีใครทราบ เพราะเรื่องนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล
สำหรับ ห้องลับ เหนือประตูชุมพล ตามหลักวิชาการคือ หอยามรักษาการณ์เชิงเทิน รูปแบบทรงไทยโบราณ ศิลปะสมัยอยุธยาหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาช่อฟ้าใบระกา โดยทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พศ 2480 และกำแพงเมืองโคราช ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พศ 2479 สิ่งของที่อยู่ด้านในห้องลับนี้ ส่วนใหญ่เป็นดาบโบราณ รูปหล่อท้าวสุรนารี รูปไม้แกะสลักย่าโม ช้างและม้า ตุ๊กตา นางรำ พานบายศรีและชุดไทยโบราณ
โดยดาบนักรบไทยโบราณ ทั้งหมดได้สลักชื่อยศตำแหน่ง ทั้งหมดเป็นของนายทหาร นายตำรวจและข้าราชการระดับสูงที่มาดำรงตำแหน่งในพื้นที่ จังหวัด นครราชสีมา แล้วมาบนบานศาลกล่าวหรือขอร้องให้ย่าโมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ ให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือขอให้มีตำแหน่งอยู่ในโคราชนาน ๆ ซึ่งของทั้งหมด ที่นำมาเก็บไว้ในห้องนี้ได้ ส่วนใหญ่เป็นของข้าราชการระดับสูงในพื้นที่
เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับใครที่ยังโสด เรียกได้ว่าต้องไปให้ได้สักครั้งนะคะ เผื่อจะได้เนื้อคู่มาแบบสมหวังสักที
*จากบทความที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแต่เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน*
ที่มา: ที่นี่ นครราชสีมา